วันพุธที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

สงบจิตด้วยการนั่งสมาธิ




โดย หลวงพ่อชา สุภัทโท วัดหนองป่าพง ต.โนนผึ้ง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี




การนั่งสมาธิคืออะไร ทำไมปฏิบัติทำไมมันถึงยากถึงลำบาก เพราะว่ามันอยาก พอไปนั่งสมาธิปุ๊บก็ตั้งใจว่าอยากจะให้มันสงบ ถ้าไม่มีความอยากให้สงบก็ไม่นั่งไม่ทำอะไร พอเราไปนั่งก็อยากให้มันสงบ เมื่ออยากให้มันสงบ ตัววุ่นวายก็เกิดขึ้นมาอีก ก็เห็นสิ่งที่ไม่ต้องการเกิดขึ้นมาอีก มันก็ไม่สบายใจอีกแล้ว นี่มันเป็นอย่างนี้ ฉะนั้น พระพุทธเจ้าท่านสอนว่า อย่าพูดให้เป็นตัณหา อย่ายืนให้เป็นตัณหา อย่านั่งให้เป็นตัณหา อย่านอนให้เป็นตัณหา อย่าเดินให้เป็นตัณหา ทุกประการนั้นอย่าให้เป็นตัณหา ตัณหาแปลว่าความอยาก ถ้าไม่อยากจะทำอะไรเราก็ไม่ได้ทำ อันนั้นปัญญาของเราไม่ถึง ทีนี้มันก็เลยอู้เสีย ปฏิบัติไปไม่รู้จะทำอย่างไร พอไปนั่งสมาธิปุ๊บ ก็ตั้งความอยากไว้แล้ว อย่างพวกเราที่มาปฏิบัติอยู่ในป่านี้ ทุกคนต้องอยากมาใช่ไหม นี่จึงได้มา อยากมาปฏิบัติที่นี้ มาปฏิบัตินี่ก็อยากให้มันสงบ อยากให้มันสงบก็เรียกว่าปฏิบัติเพราะความอยาก มาก็มาด้วยความอยาก ปฏิบัติก็ปฏิบัติด้วยความอยาก เมื่อมาปฏิบัติแล้วมันจึงขวางกัน ถ้าไม่อยากก็ไม่ได้ทำ

จึงเป็นอยู่อย่างนี้ จะทำอย่างไรกับมันล่ะ






๏ อย่าให้ตัณหาเข้าครอบงำในการปฏิบัติ การกระทำความเพียรก็เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าว่า อย่าทำให้เป็นตัณหา อย่าพูดให้เป็นตัณหา อย่าฉันให้เป็นตัณหา ยืนอยู่ เดินอยู่ นั่งอยู่ นอนอยู่ ทุกประการท่านไม่ให้เป็นตัณหา คือทำด้วยการปล่อยวาง เหมือนกับซื้อมะพร้าว ซื้อกล้วยมาจากตลาดนั่นแหละ เราไม่ได้เอาเปลือกมันมาทานหรอก แต่เวลานั้นยังไม่ถึงเวลาจะทิ้งมัน เราก็ถือมันไว้ก่อน การประพฤติปฏิบัตินี้ก็เหมือนกันฉันนั้น สมมุติวิมุติมันก็ต้องปนอยู่อย่างนั้น เหมือนกับมะพร้าว มันจะปนอยู่ทั้งเปลือกทั้งกะลาทั้งเนื้อมัน เมื่อเราเอามาก็เอามาทั้งหมดนั่นแหละ เขาจะหาว่าเราทานเปลือกมะพร้าวอย่างไรก็ช่างเขาปะไร เรารู้จักของเราอยู่เช่นนี้เป็นต้น อันความรู้ในใจของตัวเองอย่างนี้ เป็นปัญญาที่เราจะต้องตัดสินเอาเอง นี้เรียกว่าตัวปัญญา ดังนั้น การปฏิบัติเพื่อจะเห็นสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ ไม่เอาเร็วและไม่เอาช้า ช้าก็ไม่ได้ เร็วก็ไม่ได้ จะทำอย่างไรดี ไม่มีช้า ไม่มีเร็ว เร็วก็ไม่ได้ มันไม่ใช่ทาง ช้าก็ไม่ได้ มันไม่ใช่ทาง มันก็ไปในแบบเดียวกัน






๏ ตั้งใจทำสมาธิมากเกินไป ก็กลายเป็นความอยาก แต่ว่าพวกเราทุกๆ คนมันร้อนเหมือนกันนะ มันร้อน พอทำปุ๊บก็อยากให้มันไปไวๆ ไม่อยากจะอยู่ช้า อยากจะไปหน้า การกำหนดตั้งใจหาสมาธินี้ บางคนตั้งใจเกินไป บางคนถึงกับอธิษฐานเลย จุดธุปปักลงไป กราบลงไป “ถ้าธูปดอกนี้ไม่หมด ข้าพเจ้าจะไม่ลุกจากที่นั่งเป็นอันขาด มันจะล้ม มันจะตาย มันจะเป็นอย่างไรก็ช่างมัน จะตายอยู่ที่นี้แหละ” พออธิษฐานตั้งใจปุ๊บก็นั่ง มันก็เข้ามารุมเลย พญามาร นั่งแพล็บเดียวเท่านั้นแหละ ก็นึกว่าธูปมันคงจะหมดแล้วเลยลืมตาขึ้นมาดูสักหน่อย โอ้โฮ ยังเหลือเยอะ กัดฟันเข้าไปอีก มันร้อนมันรน มันวุ่นมันวาย ไม่รู้ว่าอะไรอีก เต็มทีแล้ว นึกว่ามันจะหมด ลืมตาดูอีก โอ้โฮ ยังไม่ถึงครึ่งเลย สองทอดสามทอดก็ไม่หมด เลยเลิกเสีย เลิกไม่ทำ นั่งคิดอาภัพอับจน แหม ตัวเองมันโง่เหลือเกิน มันอาภัพ มันอย่างโน้นอย่างนี้ นั่งเป็นทุกข์ว่าตัวเองเป็นคนไม่จริง คนอัปรีย์ คนจัญไร คนอะไรต่อมิอะไรวุ่นวาย ก็เลยเกิดเป็นนิวรณ์ นี่ก็เรียกว่าความพยาบาทเกิด ไม่พยาบาทคนอื่น ก็พยาบาทตัวเอง อันนี้ก็เพราะอะไร เพราะความอยาก






๏ ทำสมาธิด้วยการปล่อยวาง อย่าทำด้วยความอยาก ความเป็นจริงนั้นนะ ไม่ต้องไปทำถึงขนาดนั้นหรอก ความตั้งใจนะคือตั้งใจในการปล่อยวาง ไม่ต้องตั้งใจในการผูกมัดอย่างนั้น อันนี้เราไปอ่านตำราเห็นประวัติพระพุทธเจ้าว่า ท่านนั่งลงที่ใต้ต้นโพธิ์นั้น ท่านอธิษฐานจิตลงไปว่า “ไม่ตรัสรู้ตรงนี้จะไม่ลุกหนีเสียแล้ว แม้ว่าเลือดมันจะไหลออกมาอะไรก็ตามทีเถอะ” ได้ยินคำนี้เพราะไปอ่านดู แหม เราก็จะเอาอย่างนั้นเหมือนกัน จะเอาอย่างพระพุทธเจ้าเหมือนกันนี่ ไม่รู้เรื่องว่ารถของเรามันเป็นรถเล็กๆ รถของท่านมันเป็นรถใหญ่ ท่านบรรทุกทีเดียวก็หมด เราเอารถเล็กไปบรรทุกทีเดียวมันจะหมดเมื่อไหร่ มันคนละอย่างกัน เพราะอะไรมันถึงเป็นอย่างนั้น มันเกินไป บางทีมันก็ต่ำเกินไป บางทีมันก็สูงเกินไป ที่พอดีๆ มันหายาก






๏ สมาธิและนิวรณ์ 5 สมาธิ คือความตั้งมั่นของจิต ได้แก่ ภาวะที่จิตแน่วแน่ต่อสิ่งที่กำหนด มีอารมณ์เป็นหนึ่ง ไม่ฟุ้งซ่านหรือส่ายไป ศาสนาพุทธเน้นในสัมมาสมาธิ คือสมาธิที่ใช้ในทางแห่งการหลุดพ้น โดยใช้ปัญญาพิจารณาในสิ่งทั้งหลายตามที่เป็นจริง ไม่ใช่การหวังผลสนองตัณหาความอยาก เช่น อวดฤทธิ์ อวดความสามารถ เป็นต้น






๏ สมาธิแบ่งออกเป็น 3 ระดับคือ




1. ขณิกสมาธิ คือ สมาธิชั่วครู่ ชั่วขณะหนึ่ง เป็นสมาธิขั้นต้นที่บุคคลทั่วไปใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ในการงานประจำวัน




2. อุปจารสมาธิ คือ สมาธิที่ตั้งได้นานหน่อย ใกล้ที่จะได้ฌาน เกิดนิมิตต่างๆ เช่น เห็นแสงสว่างอยู่ระยะหนึ่ง




3. อัปปนาสมาธิ คือ สมาธิแน่วแน่ถึงฌาน เป็นการทำสมาธิขั้นสูงสุด สมาธิใช้สำหรับปราบกิเลสอย่างกลาง ที่จำเพาะเกิดขึ้นในใจคือ




นิวรณ์ 5 เมื่อกายวาจาสงบเรียบร้อยแล้ว แต่บางทีจิตยังไม่สงบ คือยังมีความกำหนัด ความโกรธ ดีใจ หดหู่ ฟุ้งซ่าน ตื่นเต้น กลัว รำคาญ หรือสงสัย ลังเลอยู่ อาจล่วงถึงกายวาจาได้ เช่น สีหน้าผิดปกติ เมื่อกระทบอารมณ์รุนแรงเข้าก็ถึงออกปาก ด่าว่า ทุบตี ฆ่าฟัน เป็นต้น ศีลมีหน้าที่ตั้งจิต งดเว้นไม่ทำบาปด้วย กาย วาจา สมาธิมีหน้าที่รักษาจิต ให้สงบจากนิวรณ์ทั้งห้า มิให้เศร้าหมอง เพราะความกำหนัด ขัดเคือง ใจหดหู่ ฟุ้งซ่าน ตื่นเต้น กลัว รำคาญ และสงสัย ลังเล ในอารมณ์ ต่างๆ เหล่านั้น




นิวรณ์ 5




๏ นิวรณ์ 5 คือ ธรรมอันกั้นจิตไม่ให้บรรลุความดี เป็นข้าศึกแก่สมาธิ มี 5 อย่างคือ




1. กามฉันท์ คือ ความพอใจรักใคร่ในอารมณ์ที่ชอบใจ มีรูป หรือความพอใจในกาม




2. พยาบาท คือ การปองร้ายผู้อื่น




3. ถีนมิทธะ คือ ความง่วงเหงาหาวนอน จิตหดหู่และเคลิบเคลิ้ม




4. อุทธัจจกุกกุจจะ คือ ความฟุ้งซ่าน รำคาญใจ




5. วิจิกิจฉา คือ ความลังเลสงสัย นิวรณ์นั้นเป็นข้าศึกแก่สมาธิ เวลามีนิวรณ์ สมาธิก็ไม่มี เวลามีสมาธิ นิวรณ์ก็ไม่มี เหมือนมืดกับสว่าง เวลามืดสว่างไม่มี เวลาสว่างมืดก็หายไป จะนำมารวมกันไม่ได้




นิวรณ์เกิดจากสัญญา (ความจำได้หมายรู้)


และจากสังขาร (ความปรุงแต่งทางจิตบางอย่างเข้ามายั่วยวนให้เกิดนิวรณ์)




นิวรณ์เกิดขึ้นที่จิตเพียงแห่งเดียว แต่มีผลต่อแห่งอื่นๆ สาเหตุที่เกิดนิวรณ์ เช่น คนมีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็ต้องมองเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส เป็นต้น เมื่อตาเห็นรูป ก็จะเลือกดูแต่รูปที่ดี จะต้องคิดนึกถึงรูปปานกลาง และรูปเลวด้วย คือ ต้องนึกถึงไตรลักษณ์เป็นหลักพิจารณาอยู่เสมอ จะได้ไม่หลง ถ้าจะให้จิตอยู่ในอารมณ์พระนิพพานอยู่เสมอ เมื่อเห็นอะไรก็ต้องพิจารณาให้เข้าสู่ไตรลักษณ์อยู่ตลอดเวลา แม้เกี่ยวกับการได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส ฯลฯ ก็ต้องพิจารณาให้เห็นพระไตรลักษณ์เช่นเดียวกัน การเพ่งสมาธิวิปัสสนา ให้เพ่งพระพุทธรูป (พุทธานุสสติ), กายาคตาสติ อสุภะดีที่สุด เมื่อเพ่งจนเกิดสมาธิแล้วก็พิจารณาไปสู่พระไตรลักษณ์ หรืออีกวิธีคือ ความยินดีพอใจในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ ทั้งปวงอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ที่ชาวโลกพร้อมทั้งเทวโลกสมมติกันว่าเป็นสุข แต่พระอริยะเจ้าเห็นสิ่งเหล่านี้ว่าเป็นทุกข์ การยินดีในสุภนิมิต เช่นนี้เรียกว่า กามฉันท์ ผู้มีกามฉันท์นี้ควรเจริญกายาคตาสติ พิจารณาเห็นร่างกายให้เห็นเป็นปฏิกูล พยาบาทเกิดขึ้นเพราะความคับแค้นใจ ผู้มีพยาบาทชอบโกรธเกลียดผู้อื่นอยู่เสมอๆ ควรเจริญ เมตตา กรุณา มุทิตา คิดให้เกิดความรัก เมตตาสงสารผู้อื่น ผู้มีความเกียจคร้านท้อแท้อยู่ในใจ ไม่กระตือรือร้นในการทำงาน เรียกว่าถูกถีนมิทธะครอบงำ








ควรเจริญอนุสสติกัมมัฎฐาน พิจารณาความดีของตนและผู้อื่น เพื่อจะได้มีความอุตสาหะทำงาน แก้ความท้อแท้ใจเสียได้ ความฟุ้งซ่าน รำคาญ เกิดจากการที่จิตไม่สงบ ควรเพ่งกสิณให้ใจผูกอยู่ในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง หรือเจริญกัมมัฏฐานให้ใจสังเวช เช่น มรณสติ ความลังเลไม่ตกลงได้ เนื่องจากไม่ได้พิจารณาให้ละเอียดถี่ถ้วน ควรเจริญธาตุกัมมัฏฐาน เพื่อจะได้รู้สภาวะธรรมตามความเป็นจริง ธรรมทั้ง 5 ประการนี้เมื่อเกิดกับผู้ใด ย่อมจะเป็นธรรมอันกั้นจิตไม่ให้ผู้นั้นบรรลุความดีหรือสิ่งที่ตนประสงค์ได้ ฉะนั้น ผู้หวังความสำเร็จในชีวิตควรเว้นจากนิวรณ์ 5 ประการนี้


วันพุธที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2552

อุเทน-ปทุมวัน ศึก2สถาบัน


อุเทน-ปทุมวัน ตีนัว! ต่อหน้าศพ ซัดกันในนิติเวช






โหดกลางกรุง นักศึกษาอุเทนถวายโดนยิง แถวแยกเกษตรฯ ตายสยอง กล้องวงจรปิดหน้าร้านเซเว่นฯจับภาพ คนร้ายมากัน 2 คน คนหนึ่งปราดเข้าไปจ่อยิงด้านหลัง แล้วโดดซ้อนท้ายจักรยานยนต์ที่อีกคนติดเครื่องรออยู่ซิ่งหนีไป เผยวุ่นซ้ำ ระหว่างเพื่อนๆ ไปรับศพคนตายที่นิติเวช ดันไปจ๊ะเอ๋กลุ่มช่างกลปทุมวันมารับศพเพื่อนที่ถูกรถชนตายพอดี เลยเกิดตะลุมบอนกันหน้าตึกนิติเวช สายตรวจต้องเข้ามาแยก โดยไม่มีใครบาดเจ็บรุนแรง เมื่อเวลา 22.00 น. วันที่ 22 มกราคม พ.ต.ต.สมนึก สันติภาตะนันท์ พงส.(สบ2) สน.พหลโยธิน รับแจ้งเหตุมีผู้ถูกยิงได้รับบาดเจ็บ บริเวณป้ายรถเมล์หน้าร้านเซเว่นอีเลฟเว่น ใกล้แยกเกษตรฯ ถ.พหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กทม. จึงรายงานให้ผู้บังคับบัญชารับทราบ ก่อนรุดไปตรวจสอบที่เกิดเหตุพร้อมด้วย พ.ต.อ.พีระพงศ์ วงษ์สมาน รองผบก.น.2 พ.ต.ต.สุรจิตร เปลี่ยนประเสริฐ สว.สส.สน. พหลโยธิน และเจ้าหน้าที่มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ถึงที่เกิดเหตุ บริเวณทางเท้าหน้าร้านสะดวกซื้อพบเพียงกองเลือดขนาดใหญ่ 1 กอง หัวกระสุนปืนลูกโม่ไม่ทราบขนาด จำนวน 1 นัด จึงเก็บไว้เป็นหลักฐาน ส่วนผู้บาดเจ็บทราบว่ามี 1 ราย มีพลเมืองดีนำส่งโรงพยาบาลวิภาวดีเรียบร้อยแล้ว แต่ทนพิษบาดแผลไม่ไหวเสียชีวิตในเวลาต่อมา ทราบชื่อคือนายพรพจน์ โสภาเจริญ อายุ 21 ปี อยู่บ้านเลขที่ 114/253 หมู่10 ต.บางรักพัฒนา อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี เป็นนักศึกษาปวส.ชั้นปีที่ 2 คณะวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย ถูกยิงด้วยอาวุธปืนลูกโม่เข้าที่ท้ายทอย 1 นัด ก้นกบ 2 นัด และกลางหลัง 1 นัด รวม 4 นัด จากการสอบสวนทราบว่า ก่อนเกิดเหตุ ผู้ตายนั่งรถเมล์ตอนหลังเลิกเรียน จากสถาบันมาแวะหาเพื่อนที่พักอยู่ย่านเกษตรฯ จากนั้นจะเดินทางกลับบ้าน โดยเดินมารอรถเมล์ที่ป้ายเพียงลำพัง ใกล้กับบริเวณหน้าร้านเซเว่นฯ จู่ๆก็มีคนร้ายเป็นชายวัยรุ่น เดินตามเข้ามาจ่อยิงผู้ตายจากด้านหลังล้มลง และตามเข้าไปยิงซ้ำอีกหลายนัด จนคนร้ายเห็นว่าผู้ตายนอนแน่นิ่งไป จึงรีบวิ่งไปขึ้นรถจักรยานยนต์ ซึ่งมีเพื่อนสตาร์ตรถรออยู่แล้ว ขับหลบหนีไปอย่างรวดเร็ว จากการตรวจสอบจุดเกิดเหตุ ตำรวจพบว่ามีการติดตั้งกล้องวงจรปิดไว้บริเวณหน้าร้านเซเว่นฯ และสามารถบันทึกภาพขณะคนร้ายกำลังลงมือไว้ได้ด้วย โดยคนร้ายเป็นชายวัยรุ่น สวมเสื้อยืดแขนยาวสีขาว กางเกงยีนส์ขายาว สวมหมวกกันน็อกแบบครึ่งใบ มีผ้าผูกปิดจมูกอำพรางใบหน้าไว้ ได้มาดักรอผู้ตายอยู่ก่อนแล้ว พอพบว่าผู้ตายเดินผ่านมา สบโอกาสเลยเข้าไปกระหน่ำยิง แล้วหนีไปกับเพื่อน
ด้าน นายสง่า โสภาเจริญ บิดาของผู้ตาย กล่าวว่า ลูกของตนไม่เคยมีปัญหาทะเลาะวิวาทกับใคร เป็นคนที่ตั้งใจเรียน ไม่เข้าใจว่าเหตุการณ์แบบนี้จะเกิดขึ้นกับครอบครัวของตน ตอนนี้แม่ของเขายังอยู่ในอาการเสียใจอย่างมาก เมื่อทราบข่าวลูกชายถูกยิงตาย ที่ผ่านมาเคยเห็นแต่ข่าวนักศึกษายิงกันจนมีคนตาย แต่ไม่เคยคิดว่าจะมาเกิดกับครอบครัว พ. ต.ต.สุรจิตร กล่าวว่า เบื้องต้นจากการตรวจสอบกล้องวงจรปิดบริเวณหน้าร้านเซเว่นฯ สามารถบันทึกภาพขณะคนร้ายลงมือไว้ เป็นชายวัยรุ่นบุกมายิงผู้ตายจากด้านหลังอย่างอุกอาจ จากการสอบปากคำอาจารย์ของผู้ตาย บอกว่าผู้ตายไม่เคยมีปัญหาทะเลาะเบาะแว้งกับใคร จึงยังไม่สามารถสรุปได้ว่าสาเหตุที่คนร้ายยิงผู้ตายเกิดจากสาเหตุใด ต้องรอเรียกญาติและเพื่อนสนิทของผู้ตาย รวมถึงพยานที่พอจะเห็นเหตุการณ์มาสอบปากคำอย่างละเอียดอีกครั้ง เพื่อเป็นข้อมูลสำคัญในการติดตามตัวคนร้ายมาดำเนินคดีต่อไป ต่อมา พ.ต.ท.ชูชาติ มีแสง สว.ชุดปฏิบัติการ ศทส. บช.น. รายงานเหตุดังกล่าวให้ พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว ผบช.น.ทราบ ระบุว่า เมื่อเวลา 22.15 น. วันที่ 22 มกราคม พ.ต.ท.สมนึก สันติภาตะรัตน์ พงส.(สบ.2) สน.พหลโยธิน รับแจ้งเหตุคนถูกยิงจากประชาชนผ่านโทรศัพท์หมายเลข 191 รายงานผู้บังคับบัญชารุดไปตรวจสอบที่เกิดเหตุบริเวณหน้าเซเว่นอีเลฟเว่น แยกเกษตร ก่อนถึงแยกเกษตร ถนนพหลโยธิน ขาออก ผู้บาดเจ็บถูกนำส่งโรงพยาบาลวิภาวดีและเสียชีวิตแล้ว จากการตรวจสอบทราบชื่อนายพรพจน์ โสภาเจริญ อายุ 21 ปี เป็นนักศึกษาอุเทนถวาย ขณะเดินเท้าจากแยกเกษตรมุ่งหน้ากรมพัฒนาที่ดิน ได้มีคนร้ายเป็นชาย 2 คน ขับขี่รถจักรยานยนต์แบบหญิง สีน้ำเงิน จำหมายเลขทะเบียนได้ 988 คนที่ 1 สวมเสื้อแจ๊กเกตสีน้ำตาล และคนที่ 2 สวมเสื้อแขนยาวสีขาว โดยคนร้ายคนที่ 2 ได้ลงจากรถจักรยานยนต์วิ่งมาทางด้านหลัง แล้วใช้อาวุธปืนไม่ทราบขนาดกระหน่ำยิงใส่นายพรพจน์ด้านหลังจำนวน 5 นัด ได้รับบาดเจ็บสาหัสก่อนมีพลเมืองดีพาส่งและไปเสียชีวิตที่โรงพยาบาลวิภาวดี ในเวลาต่อมา หลังก่อเหตุคนร้ายได้ซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์คันดังกล่าว หลบหนีมุ่งหน้าไปทางถนนงามวงศ์วาน พ.ต.ท.สุจิตร เปลี่ยนประเสริฐ สว.สส.สน.พหล โยธิน เปิดเผยว่า ที่เกิดเหตุไม่พบปลอกกระสุน คาดว่าเป็นขนาดปืนลูกโม่ ในการสืบสวนได้ให้ฝ่ายสืบสวนสน.พหลโยธิน จัดกำลังออกเป็น 3 กลุ่มออกหาพยานในพื้นรัศมี 3 ก.ม.คาดว่าคนร้ายจะจอดรถดักผู้ตาย ผู้ตายพกมีดยาวประมาณ 1 ฟุตพกติดตัวด้วย สอบสวนทราบว่าผู้ตายนั่งรถเมล์สาย 117 มาด้วยกันกับเพื่อนรวม 4 คน เป็นน้อง 2 คน แล้วมาลงใกล้ที่เกิดเหตุ จากนั้นผู้ตายเดินมาไปส่งรุ่นน้องกลับบ้าน ก่อนที่ตัวเองจะเดินกลับบ้านพักย่านซอยอมร 9 คนร้ายที่ดักซุ่มอยู่จึงวิ่งตามเข้ามาจ่อยิง 4 นัดซ้อน เบื้องต้นได้สอบสวนบิดาผู้ตายบอกว่าคนตายไม่เคยมีเรื่องกับใครและก็รักและภูมิใจที่เรียนอยู่สถาบันการศึกษา โดยทางญาติจะรับศพไปตั้งบำเพ็ญกุศลที่วัดลาดปลาเค้า ต่อมาเวลา 12.30 น. ที่สถาบันนิติเวช โรงพยาบาลตำรวจ กลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตอุเทนถวาย ประมาณ 40 คน เดินทางมารอรับศพนายพรพจน์ที่ถูกยิงเสียชีวิต แต่แล้วเกิดเหตุคาดไม่ถึง เพราะปรากฏว่าระหว่างที่นักศึกษากลุ่มดังกล่าวรอรับศพอยู่บริเวณด้านหน้า สถาบันนิติเวช ได้มีนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน ที่เป็นสถาบันคู่อริ ประมาณ 30 คน เดินทางมารับศพนายนันทศักดิ์ แก้วเขียว อายุ 22 ปี นักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน ที่ประสบอุบัติเหตุรถชนเสียชีวิตท้องที่สภ.พระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการพอดี เมื่อนักศึกษาทั้งสองกลุ่มมาเผชิญหน้ากัน ก็เลยวิ่งเข้าหากัน แล้วเปิดฉากตะลุมบอนกันอย่างดุเดือด ต่างพยายามหาสิ่งของที่อยู่ใกล้ๆมาเป็นอาวุธ ไม่ว่าจะเป็นไม้ ก้อนอิฐ ตะเกียงบูชาพระพุทธรูป ขว้างปาทุบตีกันชุลมุนนานประมาณ 5 นาที เล่นเอาประชาชนหลายคนที่มารอรับศพพากันแตกตื่นตกใจกลัวโดนลูกหลง โดยทรัพย์สินของราชการ กระจกประตูสถาบันนิติเวชแตกเสียหาย และมีนักศึกษาอุเทนถวายบาดเจ็บศีรษะแตกเล็กน้อย 1 คน จากนั้นตำรวจ สายตรวจ และสายสืบปทุมวัน เข้ามาแยกนักศึกษาทั้งสองกลุ่มออกจากกัน ให้นักศึกษาเทคโนโลยีปทุมวันเข้าไปอยู่ภายในสถาบันนิติเวช พร้อมตรวจค้นอาวุธ แต่ไม่พบอาวุธร้ายแรง จึงให้รอรับศพเพื่อน และจัดรถตู้ไปส่งยังสถาบันโดยหลบออกไปทางด้านหลัง ส่วนกลุ่มนักศึกษาอุเทนถวาย ตำรวจกันไว้บริเวณฟุตปาธด้านหน้า ต่อมา พ.ต.อ.ไพศาล ลือสมบูรณ์ ผกก.สน.ปทุมวัน เดินทางมาเจรจาด้วยตนเองว่าให้แยกย้ายกันกลับด้วยความสงบ ขออย่าให้มีเรื่องกันอีก เนื่องจากผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องจะได้รับความเดือดร้อน นักศึกษาบางส่วนจึงเดินทางกลับ ส่วนที่เหลืออีกประมาณ 10 คน ยังรอรับศพด้วยความสงบ โดยมีตำรวจคอยดูแลสถานการณ์ ด้านพยานผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์รายหนึ่งเล่าว่า ขณะเกิดเหตุเห็นนักศึกษาทั้งสองกลุ่มมายืนเขม่นกัน และบางคนในกลุ่มก็ส่งเสียงตะโกนต่อว่ากัน จากนั้นนักศึกษาเทคโนโลยีปทุมวันคนหนึ่งเดินลงมาที่ถนนซึ่งกั้นระหว่าง สองกลุ่ม แล้วนักศึกษาอุเทนถวายคนหนึ่งก็วิ่งเข้ามากระโดดถีบ จากนั้นต่างฝ่ายต่างก็กรูกันเข้ามาหยิบฉวยอะไรที่เป็นอาวุธ ไล่ตีขว้างปากันชุลมุน จนผู้ที่อยู่บริเวณนั้นต้องวิ่งหนีกระเจิง กระทั่งตำรวจเข้ามาระงับเหตุแยกทั้งสองฝ่าย ต่อมานายสง่า โสภาเจริญ พ่อของนายพรพจน์ พร้อมญาติๆ เดินทางมาติดต่อรับศพ กล่าวว่า ลูกชายมีความใฝ่ฝันที่จะเข้าเรียนที่สถาบันนี้ ก่อนมาเรียนลูกก็บอกกับตนว่าไม่ได้เข้ามาเรียนเพื่อจะมีเรื่อง แต่ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนให้จบ ตั้งแต่ที่เรียนมาก็สอบได้ไม่เกินที่ 10 เลย อยากบอกทุกคนเป็นอุทาหรณ์ว่าขออย่าให้เกิดเรื่องเช่นนี้ขึ้นอีก เพราะว่าการสูญเสียลูกชายครั้งนี้ถือว่าเป็นเรื่องที่เกินรับได้ เพราะตนมีลูกชายเพียง 2 คน เมื่อพูดมาถึงตรงนี้นายสง่าก็ถึงกับน้ำตาคลอเบ้า และขอยุติการให้สัมภาษณ์เพราะยังอยู่ในอาการโศกเศร้าไม่พร้อมที่จะพูดต่อ ทั้งนี้ศพของนายพรจน์ญาติจะนำไปบำเพ็ญกุศลที่วัดลาดปลาเค้า ด้านผลการพิสูจน์ศพนายพรพจน์ ทางสถาบันนิติเวชระบุว่า เสียชีวิตเนื่องจากบาดแผลกระสุนปืนทำลายปอดขวา ทะลุไขสันหลังส่วนคอ และเอว

วันพุธที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551




พระราชประวัติ พระพี่นางฯ
ข่าว ข่าวในพระราชสำนัก รายงาน หลังการเสด็จสู่สวรรคาลัยของ พระพี่นาง พระพี่นางเธอ สมเด็จพระพี่นาง สมเด็จพระพี่นางเธอ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวง นราธิวาสราชนครินทร์ เหล่าพสกนิกรชาวไทยสามารถอ่าน ข่าว พระพี่นาง ประวัติพระพี่นาง พระพี่นางเธอ สมเด็จพระพี่นาง พระราชประวัติพระพี่นาง พระราชประวัติพระพี่นางเธอ ได้ที่นี่ค่ะ


ทรงพระเยาว์ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงเป็นพระธิดาพระองค์แรกใน สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2466 ณ สถานพยาบาล กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ พระนามในพระสูติบัตรเมื่อแรกประสูติ คือ เมย์ ตามเดือนที่ประสูติ สมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ทรงมีพระอนุชา 2 พระองค์ คือ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร์ และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระภัทรมหาราช พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า หม่อมเจ้ากัลยาณิวัฒนา ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2470 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนาเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากัลยาณิวัฒนา และ ในพ.ศ. 2478 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทรงเฉลิมพระเกียรติเป็น สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา ครั้นเมื่อทรงเจริญพระชนมายุครบ 6 รอบ ใน พ.ศ. 2538 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯสถาปนาพระอิสริยศักดิ์ เป็นเจ้าฟ้าต่างกรมฝ่ายในตามธรรมเนียมราชประเพณีเป็นพระองค์แรกในรัชกาลทรงพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ หลังจากที่ประสูติได้ไม่นานนัก สมเด็จพระบรมราชชนกได้ทรงย้ายจากกรุงลอนดอนไปประทับอยู่ที่เมืองเซาท์บอน ทางฝั่งตะวันออก และหลังจากนั้นไปประทับที่เมืองบอสคัม ทางชายฝั่งทะเลด้านใต้ของประเทศอังกฤษ สมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ได้ประทับ ณ ประเทศอังกฤษ จนถึงเดือน ต.ค. พ.ศ. 2466 ได้ตามเสด็จสมเด็จพระบรมราชชนก และสมเด็จพระบรมราชชนนี เสด็จกลับประเทศไทย เมื่อเสด็จถึงประเทศไทย สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ได้พระราชทานพระตำหนักใหญ่ของวังสระปทุมเป็นที่ประทับ พระพี่เลี้ยงเนื่อง จินตดุล ซึ่งเป็นพระสหายสนิทของสมเด็จพระบรมราชชนนี ระหว่างที่ทรงศึกษาวิชาพยาบาลที่โรงพยาบาลศิริราช เป็นผู้ถวายการอภิบาล ต่อมาพ.ศ. 2468 สมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ได้ตามเสด็จ สมเด็จพระบรมราชชนกและสมเด็จพระบรมราชชนนีไปประเทศเยอรมนีและประเทศฝรั่งเศส


การศึกษา ใน พ.ศ. 2469 สมเด็จพระบรมราชชนก เสด็จกลับประเทศไทย เพื่อทรงร่วมในพระราชพิธีถวายพระเพลิง พระบรมศพพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ระหว่างนั้น สมเด็จพระบรมราชชนนี ได้ทรงนำพระธิดาและพระโอรสพระองค์ แรกไปประทับ ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และทรงฝากให้อยู่ในสถานรับเลี้ยงเด็กโซเลย์ (Champ Soleil) หลายเดือน สมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ จึงทรงเริ่มรับสั่งภาษาฝรั่งเศส ในปลาย พ.ศ. 2469 สมเด็จพระบรมราชชนกได้ทรงนำครอบครัวไปประทับที่เมืองบอสตัน (Boston) ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อทรงศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ สมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงเริ่มศึกษาในระดับอนุบาลที่โรงเรียนพาร์ค (Park School) ใน พ.ศ. 2471 เมื่อสมเด็จพระบรมราชชนกทรงสำเร็จการศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาด (Harvard) จึงได้ทรงนำครอบครัวเสด็จกลับประเทศไทย และประทับ ณ พระตำหนักใหญ่ วังสระปทุม สมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงเข้าศึกษาในระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนราชินี และทรงศึกษาอยู่จนถึง พ.ศ. 2476 ภายหลังที่สมเด็จพระบรมราชชนกเสด็จทิวงคตใน พ.ศ. 2472 สมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ประทับอยู่ที่กรุงเทพฯ ต่อไปอีกระยะหนึ่ง จนถึง พ.ศ. 2476 สมเด็จพระบรมราชชนนีทรงได้รับพระบรมราชานุญาตให้นำพระโอรส-พระธิดาทั้ง 3 พระองค์ไปประทับ ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ได้เข้าศึกษาในโซเลย์อีกครั้งหนึ่ง เป็นเวลา ๒ เดือน แล้วจึงเข้าศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษาชื่อเมียร์มองต์ (Miremont) การศึกษาที่เมียร์มองต์นั้นครูมีการอ่านเรื่องสั้นๆ ให้ฟัง นักเรียนจะต้องเขียนเรื่องที่ได้ฟังส่งให้ครูตรวจ ในระยะแรกทรงเขียนได้เพียง 1 บรรทัด จากเรื่องยาวประมาณครึ่งหน้ากระดาษที่ครูอ่าน ครั้งหนึ่งครูให้เขียนประโยคเกี่ยวกับ TAON (ตัวเหลือบ) ทรงเข้าพระทัยคิดว่าเป็น PAON (นกยูง) เพราะเสียงคล้ายกัน จึงทรงเขียนว่า "TAON เป็นนกที่สวยงาม" แต่อีกต่อมาประมาณ 2 ปี ก็ทรงเขียนร่วมกับนักเรียนชาวสวิตได้อย่างดี จนจบชั้นประถมศึกษา พ.ศ. 2477 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประกาศสละราชสมบัติ และรัฐบาลได้กราบบังคมทูลเชิญ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดลขึ้นครองราชย์สมบัติ หลังจากนั้นสมเด็จพระบรมราชชนนีทรงนำพระโอรส-พระธิดา ไปประทับที่บ้านซึ่งพระราชทานนามว่า วิลล่าวัฒนา (Villa Vadhana) เมืองปุยยี ใกล้กับโลซาน พ.ศ. 2478 สมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงเข้าศึกษาระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนสตรี ชื่อ École Supérieure de Jeunes Filles de la Ville de Lausanne ชั้นมัธยมศึกษาในประเทศสวิตเซอร์แลนด์นับจาก ชั้น 6 5 4 3 2 1 ทรงสามารถสอบเข้าชั้น 5 ในระดับมัธยมศึกษาได้ ทรงเรียนภาษาเยอรมันและภาษาละตินด้วย พ.ศ. 2481 ทรงย้ายไปศึกษาต่อที่เจนีวา ในลักษณะของนักเรียนประจำที่ International School of Geneva ทรงสอบผ่านชั้นสูงสุดของระดับมัธยมศึกษาได้เยี่ยมเป็นที่ 1 ของโรงเรียน และที่ 3 ของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ พ.ศ. 2485 ได้เสด็จเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยโลซานน์ในคณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาเคมี ทรงสำเร็จการศึกษาปริญญาตรี และได้รับ Diplôme de Chimiste A เมื่อ พ.ศ. 2491 ในระหว่างที่ทรงศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยโลซานน์ ได้ทรงเข้าศึกษาหลักสูตรของสังคมศาสตร์ - ครุศาสตร์ Diplime de Sciences Sociales Podagogiques อันประกอบด้วยวิชาต่างๆ ในสาขาวิชาการศึกษา วรรณคดี ปรัชญา และจิตวิทยา แม้เมื่อทรงสำเร็จการศึกษาปริญญาตรีสาขาวิชาเคมีแล้ว ก็ยังทรงศึกษาวิชาวรรณคดีและปรัชญาต่อไปอีกด้วยความสนพระหฤทัย

การทรงงาน เมื่อสมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จนิวัติประเทศไทยใน พ.ศ. 2493 สมเด็จพระบรมราชชนนี ทรงทราบดีว่าพระธิดาโปรดการเป็นครูมาแต่ทรงพระเยาว์ ได้รับสั่งแนะนำให้ทรงงานเป็นอาจารย์ จึงทรงรับงานเป็นอาจารย์พิเศษสอนภาฝรั่งเศสที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทรงสอนวิชาสนทนาภาษาฝรั่งเศส วิชาอารยธรรมฝรั่งเศส และวิชาวรรณคดีฝรั่งเศส นิสิตที่ได้มีโอกาสเป็นศิษย์ด้วยล้วนปีติยินดีในพระกรุณาธิคุณยิ่งนัก หลายคนรำลึกได้ว่าในวิชาวรรณคดีฝรั่งเศสทรงสอนผลงานของ Victor Hugo นักประพันธ์เอกของโลก สมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงสอนที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จนถึง พ.ศ. 2501 ใน พ.ศ.2512 คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ขอรับพระราชทานพระกรุณาให้ทรงเป็นอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทรงรับงานสอนและงานบริหารโดยทรงเป็นหัวหน้าสาขาสอนวิชาภาษาและวรรณคดีฝรั่งเศส และผู้อำนวยการภาษาต่างประเทศ อันประกอบด้วยภาษาฝรั่งเศส เยอรมัน ญี่ปุ่น และรัสเซีย สมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ทรงสอนวิชาภาษาและวรรณคดีฝรั่งเศสแก่นักศึกษาชั้นปีต่างๆ และทรงดูแลการสอนของอาจารย์ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ นอกจากนี้ได้ทรงจัดทำหลักสูตรระดับปริญญาตรีภาษาและวรรณคดีฝรั่งเศสจนสำเร็จในปี พ.ศ. 2516 เป็นหลักสูตรที่ผสมผสานความรู้ด้านภาษาและวรรณคดีฝรั่งเศสเข้าด้วยกันอย่างเหมาะสม ในระหว่างที่ทรงปฏิบัติงานสอนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นั้น คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้กราบทูลเชิญเป็นองค์บรรยายพิเศษตั้งแต่ปี พ.ศ.2515 ในปี พ.ศ. 2519 เมื่อพระราชกิจด้านอื่นๆ เพิ่มมากขึ้นตามลำดับ จึงทรงลาออกจากตำแหน่งอาจารย์ประจำของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แต่ก็ยังเสด็จเป็นองค์บรรยายพิเศษต่อไปอีก นอกจากนั้น ยังทรงรับเป็นองค์บรรยายพิเศษวิชาภาษาฝรั่งเศสในคณะวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์อีกด้วย ต่อมาเมื่อทรงทราบปัญหาการขาดแคลนอาจารย์ของคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เพราะเป็นมหาวิทยาลัยที่ตั้งอยู่ในจังหวัดห่างไกลและมีปัญหาเรื่องความปลอดภัย ก็ได้พระราชทานพระเมตตา เสด็จไปทรงสอนวิชาภาษาฝรั่งเศสโดยประทับอยู่ในวิทยาเขตปัตตานี ดังเช่นอาจารย์อื่นๆ ระหว่างที่ทรงงานสอน ได้ทรงร่วมกิจกรรมทางวิชาการหลายด้าน เช่น ทรงเป็นกรรมการสอบชิงทุน ก.พ. ไปศึกษาต่อต่างประเทศ ทรงเป็นประธานออกข้อสอบภาษาฝรั่งเศสในการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยของรัฐ หลังจากที่ปฏิบัติงานด้านการสอนมาจนถึงเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๒๑ ทรงได้รับการโปรดเกล้าฯ พระราชทานตำแหน่ง ศาสตราจารย์พิเศษของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ด้วยพระปรีชาญาณจากประสบการณ์ที่ทรงงานสอนภาษาฝรั่งเศสมาเป็นระยะเวลานาน จึงทรงตระหนักถึงปัญหาความต่อเนื่องในการเรียนภาษาฝรั่งเศสระดับมัธยมศึกษาและอุดมศึกษา ทรงริเริ่มก่อตั้งสมาคมครูภาษาฝรั่งเศสแห่งประเทศไทยขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2520 เพื่อให้เป็นศูนย์กลางการพบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การปรับปรุงวิธีการสอนทั้งระดับมัธยมศึกษาและอุดมศึกษา ทรงดำรงตำแหน่งนายกสมาคมฯ ตั้งแต่ พ.ศ. 2520 จนถึง พ.ศ. 2524 จากนั้นก็ทรงดำรงตำแหน่งนายกกิตติมศักดิ์สมาคมฯ มาจนถึงปัจจุบัน สมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ได้พระราชทานพระอนุเคราะห์แก่สมาคมฯ ในทุกทาง อาทิ ทรงสนับสนุนการพิมพ์วารสารของสมาคม เพื่อเผยแพร่ความรู้ใหม่ ๆ พระราชทานพระนิพนธ์บทความลงวารสาร ทรงส่งเสริมให้สมาชิกครูได้เข้ารับการสัมมนา ดูงานและศึกษาต่อ เป็นต้น การเรียนการสอนวิชาภาษาฝรั่งเศสและการวิจัยด้านภาษาฝรั่งเศสในประเทศไทยทั้งระดับมัธยมศึกษา และระดับอุดมศึกษาจึงเจริญรุดหน้าเป็นลำดับ


พระราชประวัติ พระพี่นางฯ

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (ประสูติ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2466 ณ กรุงเอดินบะระ แคว้นสก็อตแลนด์ สหราชอาณาจักร สิ้นพระชนม์วันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2551 พระชันษา 84 ชันษา ณ กรุงเทพมหานคร) ทรงเป็นสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอใน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล และ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เป็นพระธิดาพระองค์ใหญ่ใน สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์) พระราชโอรสในรัชกาลที่ 5 และสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า) และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (หม่อมสังวาลย์ มหิดล ณ อยุธยา)
พระประสูติกาล


สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ประสูติเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2466 ณ เมืองเอดินบะระ ประเทศอังกฤษ เป็นพระธิดาพระองค์แรกใน สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีพระนามแรกประสูติตามที่โรงพยาบาลตั้งถวายคือ May ต่อมาเมื่อความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานตั้งพระนามว่า หม่อมเจ้าหญิงกัลยาณิวัฒนา มหิดล (คำว่า "วัฒนา" ในพระนาม ทรงตั้งตามพระนามาภิไธยของสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า (สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี) ต่อมาพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนเป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากัลยาณิวัฒนาสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอของพระมหากษัตริย์สองพระองค์ เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติ และพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดลได้ทรงสืบราชสมบัติต่อมา คณะผู้สำเร็จราชการในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลจึงได้มีพระบรมราชโองการให้เฉลิมพระอิสริยยศ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากัลยาณิวัฒนา ขึ้นเป็น สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา วันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา ทรงเจริญพระชนมายุครบ 72 พรรษา เสมอด้วยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาเป็นเจ้าฟ้าต่างกรมฝ่ายในเป็นพระองค์แรกในรัชกาล ทรงพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฎ ว่าสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงศึกษาชั้นต้นที่โรงเรียนมาแตร์ เดอี และทรงย้ายไปศึกษาที่เมืองปุยยี (Pully) สวิตเซอร์แลนด์ ในโรงเรียน Superieur de Jeunes Filles de la Ville de Lausanne เพื่อศึกษาภาษาฝรั่งเศส ภาษาละตินและภาษาเยอรมันจากนั้น พ.ศ. 2481 เสด็จไปศึกษาต่อที่อินเตอร์เนชั่นแนลสกูล กรุงเจนีวา และทรงสำเร็จปริญญาด้านเคมีจากมหาวิทยาลัยโลซาน เมืองโลซาน

ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อทรงเสกสมรสกับ พันเอก อร่าม รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์พระองค์มีพระธิดาหนึ่งคนจากการเสกสมรสกับพันเอกอร่าม คือท่านผู้หญิงทัศนาวลัย ศรสงคราม (สมรสกับนายสินธู ศรสงครามมีบุตร คือคุณจิทัศ ศรสงคราม)
ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระเจ้าพี่นางเธอฯ ให้กลับคืนดำรงพระอิสริยศักดิ์แห่งพระราชวงศ์ทุกประการ
ต่อมาสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ทรงเสกสมรสอีกครั้งกับ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรานนท์ธวัช (พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย และหม่อมระวี ไกยานนท์)
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ได้ทรงบำเพ็ญพระกรณียกิจมากมายแก่ประเทศชาติ เพื่อแบ่งเบาพระราชภาระของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มีโครงการในพระอุปถัมภ์หลายร้อยโครงการ ทั้งด้านการแพทย์ ประวัติศาสตร์ ดนตรี ศิลปะ สัตว์เลี้ยง และ ฯลฯ นอกจากนี้ยังทรงพระอัจริยภาพในด้านการประพันธ์ พระนิพนธ์ที่มีชื่อเสียงเช่น เวลาเป็นของมีค่า แม่เล่าให้ฟัง เจ้านายเล็กๆ ยุวกษัตริย์ จุฬาลงกรณ์ราชสันตติวงศ์ มหามงกุฎราชสันตติวงศ์ และพระนิพนธ์เกี่ยวกับประเทศต่างๆ ที่เสด็จประพาส ในทางวิชาการ ทรงเป็นอาจารย์สอนวิชาภาษาต่างประเทศที่คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อยู่นาน 8 ปี โดยทรงเป็นหัวหน้าภาควิชาภาษาต่างประเทศเอง และทรงเป็นผู้ดูแลและจัดทำหลักสูตรการสอนของอาจารย์ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ทรงจัดทำหลักสูตรปริญญาตรีสาขาภาษาและวรรณคดีฝรั่งเศสสำเร็จ ด้วยการผสมผสานความรู้ด้านภาษาและวรรณคดีให้เข้ากันอย่างเหมาะสม แต่สิ่งที่ไม่ใคร่มีผู้ใดทราบคือ ทรงมีพระปรีชาสามารถในการขับเครื่องบินปีก 2 ชั้น และทรงขับเฮลิคอปเตอร์ได้อีกด้วย ทรงโปรดสัตว์ทุกประเภท แต่ที่มีขนาดเหมาะสมกับพระตำหนักคือสุนัข พระองค์ทรงรับคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไว้ในพระอุปถัมภ์ด้วย สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ได้เสด็จทรงประพาสทั้งใน และ ต่างประเทศ เพื่อบำเพ็ญพระกรณียกิจ เช่นโครงการแพทย์ พอสว. (สืบสานพระราชปณิธานสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี) และเพื่อทรงส่งเสริมภาพลักษณ์ของประเทศไทยในฐานะที่มีเจ้าฟ้าหญิงที่ทรงบำเพ็ญพระกรณียกิจมหาศาลอย่างไม่รู้จักทรงเหนื่อยยากเพื่อความสุขของประชาชน ทรงดำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ มาเป็นระยะเวลานานกว่า 72 ปีแล้ว
ทรงเจริญพระชนมายุครบ 84 พรรษา วันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ทรงเจริญพระชนมายุครบ 84 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกุรณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ ในพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลฉลองพระชนมายุ ๘๔ พรรษา สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ นอกจากนี้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมด้วยท่านผู้หญิงทัศนาวลัย ศรสงคราม ได้จัดทำนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติขึ้นที่ห้างสรรพสินค้าสยามพาราก้อน โดยใช้ชื่อนิทรรศกาลว่า แสงหนึ่งคือรุ้งงามสิ้นพระชนม์ ในวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2551 เวลา 02.54 น. ทรงสิ้นพระชนม์ ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช หลังจากเข้ารับการรักษาพระองค์นับตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2550 รวมพระชันษา 84 ชันษา